สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

ประวัติพระอรหันต์จี้กง

ประวัติพระอรหันต์จี้กง

 

Photobucket




หลายคนถ้าพูดถึงคำว่า 'พระบ้า' แล้ว ก็ไม่พ้นที่จะนึกถึงพระรูปหนึ่ง .....นามว่า จี้กง (??) ละครจีนชุดเรื่องจี้กง เคยถูกนำมาฉายและได้รับความนิยมอย่างสูง ภาพพระจี้กง คือ พระที่สวมรองเท้าสานขาดๆ ถือพัดใบลานที่เป็นรู ใส่เสื้อผ้ารุ่งริ่ง มีหมวกโทรมใบเล็ก และที่สำคัญ ขี้ไคลของท่านรักษาได้สารพัดโรค .... แต่นั่นก็เป็นเพียงภาพที่ละครโทรทัศน์ผลิตออกมาเพื่อความบันเทิงเป็นหลัก เท่านั้น

สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ นิกายมหายาน จี้กง ถูกจัดเป็น อรหันต์ แต่เป็นพระอรหันต์ที่แปลกประหลาดเสียจนผู้คนงุนงง จนผู้คนให้ฉายานามว่า พระบ้า หรือ พระเพี้ยน สาเหตุก็ คือ จี้กงเป็นพระที่รับประทานเนื้อสัตว์ ดื่มสุราอยู่เป็นนิจ นอกจากนี้ยังลักษณะท่าทางยังปราศซึ่งความสำรวม ผิดแผกกับ พระสงฆ์ทั่วไปโดยสิ้นเชิงอย่างไรก็ตาม 'เปลือกนอก' กับ 'เนื้อใน' หรือ 'สิ่งที่เห็น' กับ 'สิ่งที่เป็น' นั้นบางครั้งก็มิใช่เรื่องเดียวกันเสียหมด อรหันต์จี้กง ก็ถือเป็นหนึ่งในข้อยกเว้นนั้น
     จี้กง หรือ จี้เตียน มีตัวตนอยู่จริงในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้ปกครองประเทศจีน โดยใช้ชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ.1148-1209 เดิมแซ่หลี่ นามซินหย่วน
นอกจากนี้ยังมีนามอื่นๆ อีก เช่น หูหยิ่น  และ ฟังหยวนโส่ว  เกิดที่ หมู่บ้านหย่งหนิง ตำบลเทียนไถ มณฑลเจ้อเจียง ในตระกูลของผู้มีอันจะกิน*อย่างไรก็ตามหลังจากบิดา-มารดา เสียชีวิต จี้กงก็ตัดสินใจละทางโลก สละเพศฆราวาส ออกบวชที่วัดหลิงอิ่น  แห่งเมืองหางโจว โดยได้ฉายานามว่า เต้าจี้  ทั้งนี้เต้าจี้ได้รับการอุปสมบทโดยมีพระสงฆ์ผู้มีชื่อเสียงในเวลานั้น คือ พระอาจารย์ฮุ้ยหย่วน
หลังจากจี้กงออกบวช และ ต่อมาก็ออกลาย กลายมามีพฤติกรรมพิเรนทร์ผิดกับพระทั่วไป จนเป็นที่ติฉินนินทาของพระสงฆ์รูปอื่นๆ แต่ด้าน พระอาจารย์ กลับทราบดีว่า แม้ภายนอกจี้กงจะมีกิริยาไม่สำรวมผิดกับพระทั่วไป ทั้งผิดศีล เล่นซุกซนกับเด็กๆ ประพฤติ-พูดจาไม่สำรวม ดื่มสุรา บริโภคเนื้อสัตว์ แต่ลึกลงไปภายใน จี้กงกลับเป็น - - - บุคคลที่ตื่นแล้ว!  นอกจากนี้ด้วยการกระทำหลายๆ ประการของ จี้กง แม้จะเป็นการกระทำที่ดูเหมือนจะผิดศีลธรรม ผิดประเพณีดั้งเดิม แต่เมื่อพิจารณาจาก เนื้อแท้ จุดมุ่งหมายและผลลัพธ์ แล้ว การกระทำเหล่านั้นของจี้กงกลับเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และ ก่อคุณประโยชน์

สรุปความสั้นๆ ตามความเชื่อของพุทธมหายานก็คือ จี้กงเป็นอรหันต์ที่จุติมาเกิดอีกครั้ง เพื่อสั่งสอนมนุษย์โลก

สำหรับ วัดหลิงอิ่น อันเป็นสถานที่แรกซึ่ง จี้กง ก้าวเข้าสู่ เส้นทางแห่งร่มผ้ากาสาวพัสตร์ นับเป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่า 1,600 ปี และถึงปัจจุบันก็ยังเป็นสถานที่ซึ่งผู้ซึ่งมาถึง หางโจว ต้องไปเยือนด้วยประการทั้งปวงวัดหลิงอิ่น แปลความหมายเป็นไทยได้ว่า "วัดซ่อนใจ" มีประวัติย้อนไปได้ถึงปี ค.ศ.326 เมื่อพระอินเดียรูปหนึ่ง ธุดงค์มาถึงทิวเขาด้านตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลสาบซีหู และพบหุบเขาที่สามด้านล้อมรอบด้วยป่างาม เหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนา ท่านจึงสร้าง วัดซ่อนใจ แห่งนี้ขึ้น** ขณะที่พระอินเดียรูปดังกล่าวเดินสำรวจพื้นที่ก็พบเข้ากับภูเขาหินขนาดมหึมา ที่ดูแล้ว ลักษณะโดดออกจากภูมิประเทศโดยรอบ ท่านจึงพรรณาขึ้นว่า "มิทราบว่าเขายอดนี้บินมาจากหนใด" และนี่เองจึงเป็นที่มาของชื่อ ยอดเขาบิน ณ วัดหลิงอิ่น ***

ทั้งนี้ ในเวลาต่อมาด้วยความศรัทธาต่อ พระจี้กง ชาวบ้านหางโจวจึงโยงใยที่มาของยอดเขาบินที่วัดหลิงอิ่นเข้าเกี่ยวพันเป็น หนึ่งในตำนานอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ของ พระจี้กง แต่งเป็นนิทานขึ้นมาอีกเรื่องหนึ่ง โดยนิทานพื้นเมืองของชาวหางโจวเรื่องนั้นระบุเอาไว้ว่า เดิมยอดเขาประหลาดดังกล่าวตั้งอยู่ในบริเวณดินแดนแถบตะวันตกเฉียงใต้ของมณฑล เสฉวน .... เช้าวันหนึ่งเมื่อพระจี้กง มีญาณบอกล่วงหน้าว่า ราวเที่ยงวันยอดเขาดังกล่าวจะบินมาตกทับหมู่บ้านข้างวัดหลิงอิ่น และจะทำให้มีผู้คนเสียชีวิตมากมาย ด้วยเหตุนี้พระจี้กงจึงตัดสินใจวิ่งเข้าไปในหมู่บ้านเพื่อบอกมหันตภัยดัง กล่าวให้กับชาวบ้านได้รับทราบ เพื่อที่จะได้พากันอพยพไปยังที่ปลอดภัย
"เที่ยงวันจะมีภูเขาหล่นลงมาทับหมู่บ้าน ทุกคนรีบเก็บข้าวข้องเร็ว ไม่งั้นก็ไม่ทันแล้ว" จี้กงกระหืดกระหอบ มาตะโกนบอกชาวบ้านโดยทั่ว อย่างไรก็ตามด้วย ความที่ชาวบ้านมองว่า จี้กง เป็นเพียงพระบ้ารูปหนึ่งที่กล่าวอะไรไร้สาระไปวันๆ ทุกคนจึงส่ายหัว พร้อมกับด่าทอว่า "พระบ้าเอ้ย! จะหาเรื่องอะไรมาเล่นสนุกอีกละ ภูเขาบินมีที่ไหนกันเล่า!" ตะวันยิ่งลอยยิ่งสูง .... ใกล้ถึงเวลาเที่ยงวันที่ยอดเขาจะตกลงมายังหมู่บ้านเข้าไปทุกที พอดีในวันนั้นมีการจัดงานมงคลสมรส จึงมีเสียงของงานรื่นเริงดังขึ้นที่มุมหนึ่งของหมู่บ้าน
เมื่อจี้กงเห็นว่าไม่มีใครยอมเชื่อสิ่งที่ตนเองกล่าวเตือน จี้กงจึงตัดสินใจแอบลอดตัวเข้าไปในงาน หลบหลีกผู้คน อุ้มเจ้าสาวหนีออกจากงานเสีย จี้กงอุ้มเจ้าสาวและวิ่งอย่างว่องไวออกไปนอกหมู่บ้าน ขณะที่ชาวบ้านที่มาร่วมงานต่างก็วิ่งไล่จับ พร้อมกับตะโกนป่าวร้อง ให้ทุกคนช่วยกันคว้าตัว 'พระบ้าขโมยเจ้าสาว' อย่างไรก็ตามด้วยอิทธิฤทธิ์ จี้กงก็มีฝีเท้าเร็วพอที่จะไม่ถูกใครไล่ตามจับได้ทัน จี้กงกวดฝีเท้าออกมาๆ พร้อมกับผู้คนทั้งหมู่บ้านที่วิ่งไล่ตาม ออกมาไกลสิบกว่าลี้จนกระทั่งเลยรัศมีของยอดภูเขามหันตภัย เห็นดังนั้นจี้กงจึงวางเจ้าสาวลง เมื่อหยิบพัดใบลานขึ้นมาโบกคลายร้อน ก็บังเกิดเสียงดังลั่นสนั่นพสุธา!!! .... ยอดเขาตกลงมาทับหมู่บ้านอย่างที่คาดไว้ ชาวบ้านที่วิ่งตามมา เมื่อหันกลับไปมองสภาพภูเขายักษ์หล่นมาทับหมู่บ้านของตนเสียแบนก็ทราบว่า สิ่งที่จี้กงกล่าวเตือนนั้นเป็นความจริง ส่วนการที่จี้กงอุ้มเจ้าสาวหนีออกมาจากงานมงคลนั้นก็เพื่อช่วยชีวิตชาวบ้าน ทั้งมวลนั่นเอง แต่ทั้งนี้หลังจากเห็นบ้านช่อง ทรัพย์สมบัติถูกทับแบนอยู่ใต้ภูเขา ชาวบ้านจำนวนไม่น้อยก็เกิดความเสียดายและเศร้าโศกเสียใจ ร้องไห้ ตีอกชกเท้า กันเป็นพัลวัน ด้วยสภาพดังกล่าว จี้กงจึงหันไปกล่าวกับชาวบ้านเหล่านั้นว่า "ร้องไห้ไปทำไม พวกเจ้าที่ดินที่มัวแต่เสียดายสมบัติต่างก็ถูกทับจมอยู่ใต้ภูเขาไปแล้ว จากนี้ต่อไปทุกคนก็กลับไปทำไรทำนาของตัวเอง ทำเท่าไหร่ได้เท่านั้น ชีวิตก็ยังมี จะยังกลัวสร้างเรือนใหม่ไม่ได้ไปใย"ชาวบ้านพอได้ยินก็สำนึกได้ว่าท่ามกลางความทุกข์ก็ยังพอมีประกายแสงแห่งความ สุขเรืองรองอยู่บ้าง ท่ามกลางความสูญเสียอย่างน้อยที่สุดพวกตนก็ยังรักษาชีวิตให้รอดอยู่ได้ เมื่อเห็นชาวบ้านพอจะคลายทุกข์ลงได้แล้ว จี้กงก็รั้งเหล่าชาวบ้านเอาไว้ และกล่าวต่อว่า"อย่างเพิ่งไป ทุกคนฟังอาตมากล่าวก่อน ยอดเขาก้อนนี้เดิมลอยไปลอยมา จากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่ง หลังทับทลายหมู่บ้านของพวกเราแล้วก็อาจจะบินไปทับหมู่บ้านอื่น อาจทำให้คนเสียชีวิตอีกมากมาย อาตมาขอร้องให้พวกเราช่วยกันสลักพระอรหันต์ 500 องค์ไว้บนภูเขาลูกนี้ เพื่อที่จะทำให้ภูเขาลูกนี้ไม่บินไปสร้างอันตรายให้กับผู้อื่นอีก" ชาวบ้านได้ยินดังนั้นจึงรีบกลับไปช่วยกันสลักพระอรหันต์ 500 องค์ไว้บนยอดเขาบินกันคนละไม้ละมือ ...... โดยนับจากนั้น ยอดเขาดังกล่าวก็ไม่บินไปสร้างอันตรายให้ใครอีก และถูกเรียกขานกันต่อๆ มาว่า ยอดเขาบิน ณ วัดหลิงอิ่น

ปัจจุบัน นักท่องเที่ยวก็ยังคงสามารถเข้าชม ยอดเขาบินและพระพุทธรูปสลัก 500 อรหันต์ได้ ทั้งนี้ พระพุทธรูปสลักที่ยอดเขาดังกล่างนี้ถูกจัดว่าอยู่ในส่วนของ วัฒนธรรมถ้ำหินสลัก (????) โดยถ้ำหินสลัก ที่นี่แม้จะไม่ถูกจัดให้เป็น 3 สุดยอดแห่งถ้ำหินสลักแห่งแผ่นดินจีน เหมือนกับ ถ้ำหินสลักโม่เกา (????) แห่งตุนหวง, ถ้ำหินสลักหลงเหมิน (????) แห่งลั่วหยาง หรือ ถ้ำหินสลักหยุนกัง (????) แห่งต้าถง (??) มณฑลซานซี แต่ ถ้ำหินสลักที่นี่ก็ยังมีดีไม่น้อย เนื่องจากนับว่าเป็นตัวแทนหนึ่งของ วัฒนธรรมถ้ำหินสลักของจีนภาคใต้ แถบลุ่มแม่น้ำแยงซีเกียง ที่สืบเสาะประวัติศาสตร์ย้อนรอยกลับไปได้นานกว่า 1,000 ปี

 

ที่มาข้อมูล http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=picha-mon&date=15-02-2009&group=12&gblog=4

 

view