ประวัติตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชไทย

สังฆราช” แปลว่า ราชาของสงฆ์ ราชาของหมู่คณะ
หมายถึง พระมหาเถระผู้เป็นใหญ่สูงสุดในสังฆมณฑล
เรียกอย่างเต็มว่า สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก”

และเรียกอย่างย่อว่า สมเด็จพระสังฆราช”

 

ทำเนียบสมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

เริ่มจากการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานีจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
สังฆมณฑลไทยมีพระมหาเถระผู้ได้รับการสถาปนา
เป็นสมเด็จพระสังฆราช รวมทั้งหมด ๑๙ พระองค์


ประกอบด้วย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า ๓ พระองค์,
สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ๒ พระองค์
และสมเด็จพระสังฆราช ๑๔ พระองค์
ดังต่อไปนี้


๑. สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี)
วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร พ.ศ. ๒๓๒๕-๒๓๓๗
ดำรงสมณศักดิ์ ๑๒ ปี สมัยรัชกาลที่ ๑

๒. สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศุข)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร พ.ศ. ๒๓๓๗-๒๓๕๙
ดำรงสมณศักดิ์ ๒๓ ปี สมัยรัชกาลที่ ๑

๓. สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (มี)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร พ.ศ. ๒๓๕๙-๒๓๖๒
ดำรงสมณศักดิ์ ๓ ปีเศษ พระชนมายุ ๗๐ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๒

๔. สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร พ.ศ. ๒๓๖๓-๒๓๖๕
ดำรงสมณศักดิ์ ๑ ปีเศษ พระชนมายุ ๘๙ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๒

๕. สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ด่อน)
วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ราชวรมหาวิหาร พ.ศ. ๒๓๖๕-๒๓๘๕
ดำรงสมณศักดิ์ ๑๙ ปีเศษ พระชนมายุ ๘๑ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๒-๓

๖. สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (นาค)
วัดราชบุรณะ ราชวรวิหาร (วัดเลียบ) พ.ศ. ๒๓๘๖-๒๓๙๒
ดำรงสมณศักดิ์ ๕ ปีเศษ พระชนมายุ ๘๖ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๓

๗. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส
(พระองค์เจ้าวาสุกรี สุวณฺณรํสี)

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร พ.ศ. ๒๓๙๔-๒๓๙๖
ดำรงสมณศักดิ์ ๑ ปีเศษ พระชนมายุ ๖๔ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๔

๘. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์
(พระองค์เจ้าฤกษ์ ปญฺญาอคฺคโต)

วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร พ.ศ. ๒๔๓๔-๒๔๓๕
ดำรงสมณศักดิ์ ๑๑ เดือนเศษ พระชนมายุ ๘๓ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๕

๙. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทโว)
วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร พ.ศ. ๒๔๓๖-๒๔๔๒
ดำรงสมณศักดิ์ ๖ ปีเศษ พระชนมายุ ๘๗ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๕

๑๐. สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
(พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ มนุสฺสนาโค)

วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๖๔
ดำรงสมณศักดิ์ ๑๐ ปีเศษ พระชนมายุ ๖๑ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๖

๑๑. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์
(หม่อมเจ้าภุชงค์ ชุมพูนุท สิริวฑฺฒโน)

วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร พ.ศ. ๒๔๖๔-๒๔๘๐
ดำรงสมณศักดิ์ ๑๖ ปีเศษ พระชนมายุ ๗๘ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๖-๗

๑๒. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (แพ ติสฺสเทโว)
วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๗
ดำรงสมณศักดิ์ ๖ ปีเศษ พระชนมายุ ๘๙ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๘

๑๓. สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์
(หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์ สุจิตฺโต)

วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๕๐๑
ดำรงสมณศักดิ์ ๑๓ ปีเศษ พระชนมายุ ๘๖ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๘-๙

๑๔. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปลด กิตฺติโสภโณ)
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร พ.ศ. ๒๕๐๓-๒๕๐๕
ดำรงสมณศักดิ์ ๒ ปีเศษ พระชนมายุ ๗๔ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๙

๑๕. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทโย)
วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร พ.ศ. ๒๕๐๖-๒๕๐๘
ดำรงสมณศักดิ์ ๒ ปีเศษ พระชนมายุ ๙๑ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๙

๑๖. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายี)
วัดมกุฏกษัตริยาราม ราชวรวิหาร พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๔
ดำรงสมณศักดิ์ ๖ ปีเศษ พระชนมายุ ๗๕ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๙

๑๗. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณฺณสิริ)
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๖
ดำรงสมณศักดิ์ ๑ ปีเศษ พระชนมายุ ๗๘ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๙

๑๘. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน)
วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ราชวรวิหาร พ.ศ. ๒๕๑๗-๒๕๓๑
ดำรงสมณศักดิ์ ๑๔ ปีเศษ พระชนมายุ ๙๑ พรรษา สมัยรัชกาลที่ ๙

๑๙. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)
วัดบวรนิเวศวิหาร ราชวรวิหาร พ.ศ. ๒๕๓๒-ปัจจุบัน

สถาปนาเมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๒ พระชนม์ปีที่ ๔๔ ในรัชกาลที่ ๙


รวบรวมและเรียบเรียงมาจาก ::
คำบรรยายกฎหมายคณะสงฆ์ ชั้นปริญญาตรี คณะพุทธศาสตร์
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดย ปลื้ม โชติษฐยางกูร